วันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2553

2. ระบบงานวิชาการ

วัตถุประสงค์การดำเนินงาน

วางแผนระบบงานวิชาการทั้งระบบ ดำเนินงานพัฒนาหลักสูตร และการจัดการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัย รับผิดชอบ ดำเนินการและควบคุมคุณภาพการเรียน จัดการสอนรายวิชาให้เป็นไปตามระบบและกลไก ให้ได้มาตรฐานการประกันคุณภาพ โดยการประชุมร่วมกันของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ผู้ทรงคุณวุฒิและผุ้ใช้บัณฑิต การดำเนินการเป็นไปตามมติที่ประชุม (กรณีมีการเปลี่ยนแปลงมติ ต้องผ่านที่ประชุมทุกครั้ง)

หน้าที่หลัก

รับผิดชอบดำเนินการตามมติที่ประชุมกรรมการบริหารหลักสูตรในการประสานงานการเรียนจัดการสอนรายวิชา ให้เป็นไปตามระบบกลไก มาตรฐานการประกันคุณภาพร่วมวางแผนการจัดการเรียนการสอน ให้เป็นไปตามระบบกลไก มาตรฐานการประกันคุณภาพสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1.ประสานงานการจัดแผนการเรียนให้เป็นตามระบบและกลไกการประกันคุณภาพ /สกอ. /สมศ./กพร. ตามมติที่ประชุมกรรมการบริหารหลักสูตร

  1. ประสานงานคณะกรรมการวิชาการคณะ หมวดวิชาชีพครู
  2. ประสานงานอาจารย์สังกัดหลักสูตร หมวดวิชาเฉพาะ(เอก) ตามฐานข้อมูลผู้สอน (หลักฐาน ตารางใบเซ็นชื่อรับรองว่าสามารถสอนและเขียนเอกสารประกอบการสอน รายวิชาที่รับผิดชอบสอน)
  3. ประสานงานอาจารย์พิเศษและวิทยากร (ทั้งภายในและภายนอก)
  4. ประสานงานการจัดแผนการเรียนและผู้สอน เพื่อจัดทำแผนการเรียน ตารางรายวิชาและผู้สอน
  5. ประสานงานและร่วมกันแก้ปัญหาต่างๆในการจัดแผนการเรียนและผู้สอน
  6. ร่าง พิมพ์ ปริ๊นต์ ถ่ายสำเนา บันทึกข้อความและเอกสารราชการของฝ่ายวิชาการทั้งหมด
  7. เก็บหลักฐานเข้าแฟ้มเป็นระบบ
2. ประสานงานการพัฒนาหลักสูตร  ให้เป็นตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และระบบและกลไกการประกันคุณภาพ /สกอ. /สมศ./กพร.และเป็นเลขานุการงานพัฒนาหลักสูตร
  1. ประสานงานผู้ทรงคุณวุฒิ
  2. ประสานงานอาจารย์สังกัดหลักสูตร
  3. ร่วมดำเนินงานพัฒนาหลักสูตรและจัดหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานพัฒนาหลักสูตร เพื่ออำนวยความสะดวกแก่กรรมการ
  4. จัดทำ Follow up งานพัฒนาหลักสูตร
  5. ร่าง พิมพ์ ปริ๊นต์ ถ่ายสำเนา บันทึกข้อความและเอกสารราชการงานพัฒนาหลักสูตรทั้งหมด
  6. เก็บหลักฐานเข้าแฟ้มเป็นระบบ
3 .จัดทำแผนปฏิบัติการวิชาการประจำปีการศึกษา

  1.  วิเคราะห์นโยบาย แผนงานวิชาการของมหาวิทยาลัยวิทยาลัย
  2. เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริหารและกรรมการวิชาการ เพื่อหาแนวทางในการพัฒนา
  3. ดำเนินการจัดทำแผนงานวิชาการของหลักสูตรร่วมกับทีมกรรมการ โดยให้ครอบคลุม/สอดคล้องกับ แผนงาน นโยบายของมหาวิทยาลัย
  4. ดำเนินงานตามแผน
  5. ประเมินแผนงานและรายผลต่อที่ประชุมกรรมการบริหาร
4. งานประกันคุณภาพตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษา

  1. จัดทำฐานข้อมูลของกลุ่มวิชาตามตัวชี้วัดการประกันคุณภาพ
  2. เขียนรายงานการประเมินตนเอง
  3. รับการประเมินคุณภาพการศึกษา
  4. รับผิดชอบหลักฐาน การให้ข้อมูลและการรายงานผล ตามตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง(ตามมติที่ประชุม)

5. งานวิจัยและบริการวิชาการ
  1. สนับสนุนการทำผลงานวิชาการและงานวิจัย
  2. พัฒนาอาจารย์ให้สามารถเป็นวิทยากร อาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัย
  3. จัดหาข้อมูลแหล่งทุนการวิจัยและการบริการวิชาการสำหรับอาจารย์สังกัดหลักสูตร
  4. ฐานข้อมูลงานวิจัยของอาจารย์ ฐานข้อมูลงานวิจัยของนักศึกษา งานบริการวิชาการ งานบริการชุมชน งานทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรมโครงการต่างๆ ฯลฯ
  5. จัดทีมนักศึกษา รับทำวิจัยโครงการต่างๆ การวิจัยการสื่อสารทุกรูปแบบ (ฝึกเป็นผู้ช่วยนักวิจัย)
  6. จัดทีมนักศึกษาเป็นผู้ช่วยจัดเตรียมงานบริการวิชาการและงานอื่นๆ (ทีม organizer)
งานจัดการความรู้ ( เตรียมรับการประเมินจากองค์กรอิสระภายนอก)
  • จัดทำคู่มือปฏิบัติงานของฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ (ทั้งเอกสารและ on line เพื่อบันทึกปัญหาและแนวทางแก้ปัญหา ให้ทุกคนได้มีโอกาสเรียนรู้งานนี้ร่วมกัน)
  • ฝึกนักศึกษาปฏิบัติงานวิชาการ งานวิจัย และงานบริการวิชาการ
ระดับงานจากง่ายไปหายากและผลผลิตที่คาดหวัง

  1. บันทึกข้อความ /เอกสารประสานงานวิชาการทั้งหมดพร้อมหลักฐานเอกสารแนบทุกชุด
  2. ขั้นตอนการประสานงานและการดำเนินงาน(แต่ละงาน)
  3. ตารางรายวิชาและผู้สอนทุกภาคเรียน (อ.สุขุมาล ดำเนินการแล้ว)
  4. แผนการเรียนตลอดหลักสูตร
  5. การจัดการความรู้งานวิชาการ
  6. ระบบงานวิชาการของหลักสูตร
  7. การจัดการความรู้งานพัฒนาหลักสูตร
  8. ระบบงานพัฒนาหลักสูตร
  9. แผนปฏิบัติงานวิชาการประจำปี
  10. แผนปฏิบัติงานวิชาการ 5 ปี
  11. รายงานการวิเคราะห์นโยบาย
  12. รายงานผลการปฏิบัติงานวิชาการ
  13. ระบบฐานข้อมูลการประกันคุณภาพการศึกษา
  14. SSR ระบบงานวิชาการ
  15. รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษา (งานวิชาการ)
  16. ระบบการประสานงานที่มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามกลไกการประกันคุณภาพ
หน้าที่งานประจำและคุณสมบัติของผู้รับผิดชอบงานฝ่ายวิชาการ
  • ร่าง-พิมพ์ –ส่ง ดำเนินการบันทึกข้อความ และหนังสือราชการต่างๆที่เกี่ยวข้องของฝ่าย
  • รวบรวม เรียบเรียง และทำสำเนาเอกสารของฝ่ายเพื่อทำหลักฐานประกันคุณภาพ
  • จัดทำทะเบียนวัสดุ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์ต่างๆในความรับผิดชอบ
  • จัดทำเอกสารรายงานผลการปฏิบัติงานของฝ่าย
  • ประสานงานข้อมูลดำเนินการของฝ่าย และแจ้งให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทราบ(ในหลักสูตร)งานวิชาการ
  • กรรมการหลักสูตรจัดแผนการเรียนของแต่กลุ่มเรียนตามหลักสูตร โดยประชุมร่วมกันทุกครั้ง
  • ที่ประชุมกรรมการและอาจารย์ที่ปรึกษาจะร่วมกันเป็นผู้พิจารณาปรับรายวิชา สำหรับกลุ่มเรียนที่ปรึกษา หรือสำหรับนักศึกษาเฉพาะรายบุคคล
  • ตรวจสอบแผนการเรียน ภาคปกติ ส่งสำนักส่งเสริมวิชาการการดำเนินการเป็นไปตามมติที่ประชุม (กรณีมีการเปลี่ยนแปลงมติ และกรณีการปรับแก้ข้อมูลใดๆต้องผ่านที่ประชุมทุกครั้ง)
  • ติดตามผลการปรับแผนการเรียน  ที่สำนักส่งเสริมวิชาการ
  • ประสานงานผู้สอน รายวิชา ภาคปกติ
  • ร่าง- พิมพ์ - ส่ง – ติดตามผล -ประสานงาน บันทึกข้อความเชิญผู้สอน ต่างคณะ
  • ทำหนังสือราชการ เชิญผู้สอนภายนอก
  • จัดผู้สอนรายวิชาภาคปกติ ตามมติที่ประชุมกรรมการหลักสูตร หลักฐานนำส่งสำนักส่งเสริมวิชาการ
  • ติดต่อประสานงานผู้สอน ทุกคน ยืนยันหรือแจ้งการเปลี่ยนแปลง(ด้วยตนเองหรือโทรศัพท์) make good connection
  • ทำฐานข้อมูลรายวิชาแต่ละภาคเรียน แยกหน่วยกิตภาคทฤษฎีและปฏิบัติ และจำนวนภาระงานสอน เพื่อขออนุญาตจ้างอาจารย์พิเศษ รายเดือน รายชั่วโมง
  • ทำแผนการจ้างอาจารย์พิเศษ ตามฐานข้อมูลรายวิชาที่ไม่มีผู้สอน
  • ร่าง-พิมพ์ –ส่ง ดำเนินการบันทึกข้อความ และหนังสือราชการต่างๆที่เกี่ยวข้องของฝ่าย
ความยากง่ายของงาน (Major Challenge)
  • ต้องจัดระบบและกลไกของงาน/กิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน เพื่อผลิตบัณฑิตครุศาสตร์ตามเป้าหมายของมหาวิทยาลัย และแข่งขันผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ
  • ต้องรวบรวมและจัดระบบเอกสาร หลักฐาน ที่เกี่ยวข้องต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อรอรับการประเมินคุณภาพภายใน
  • ต้องประสานงานการจัดการเรียนการสอน กับอาจารย์ผู้สอนรายวิชาต่างๆ ที่มีความแตกต่างหลากหลายโดยยังรักษา Connection ที่ดีต่อกันไว้ได้
  • ต้องประสานงานการจัดการเรียนการสอน กับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ฝ่ายวิชาการคณะครุศาสตร์ และอาจารย์ผู้สอนที่เรียนเชิญจากภายนอก โดยสามารถประสานงานได้ลงตัว เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย
ที่มา : ข้อมูลการวิเคราะห์หน้าที่งานตามองค์ประกอบและตัวบ่งชี้จากคู่มือประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช