วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553

5.ระบบงานประกันคุณภาพ

การดำเนินงานและวัตถุประสงค์

หลักสูตรต้องรายงานผลการประเมินตนเองทุกปีการศึกษา เริ่มตั้งแต่เดือน มิถุนายนถึงพฤษภาคม เป็นการรายงานการประเมินตนเองตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายในของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จำนวน 10 องค์ประกอบ 67 ตัวบ่งชี้ เกณฑ์สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) รายงานตามตัวชี้วัด และเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ รายงานตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพ  โดยต้องเตรียมเปิดเผยข้อมูลผลการดำเนินงานต่อสาธารณชน ในระบบ CHE QA ONLINE  งานประกันคุณภาพ จึงเป็นการนำเสนอหลักฐานและร่องรอยการทำงานอย่างเป็นระบบเพื่อรับการประเมินจากคณะกรรมการทั้งภายในและภายนอก โดยมีกรอบปริบทที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้

๑. เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้กำหนดและกำกับการประกันคุณภาพของหลักสูตร อย่างน้อยที่สุดใน 4 ประเด็น คือ
ก. การบริหารหลักสูตร
ข. ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน
ค. การสนันสนุนและการให้คำแนะนำนักศึกษา
ง. ความต้องการของตลาดแรงงาน สังคม และ/หรือความพึงพอใจของผู้ใช้
บัณฑิตและโปรแกรมวิชาหรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตรต้องพร้อมแสดงผลต่อสาธารณะ
และแจ้งให้ กกอ.ทราบด้วย

๒. กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พศ.๒๕๕๒ ได้กำหนดมาตรฐานผลการเรียนรุ้เฉพาะด้านของคุณวุฒิระดับที่ ๒ ปริญญาตรี ไว้ดังนี้ (๑) ด้านคุณธรรม จริยธรรม(๒) ด้านความรู้(๓) ด้านทักษะทางปัญญา(๔) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ(๕) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ(๖) กรณีสายครุศาสตร์ ต้องเพิ่มทักษะด้านการจัดการเรียนรู้ด้วย


๓. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)
เตรียมข้อมูลรายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการที่มหาวิทยาลัยมอบหมายตามนโยบาย

๔.เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ

งานที่เกี่ยวข้อง (รอปรับรายละเอียดงาน)

ขอข้อมูลและรวบรวมเอกสารหลักฐาน ที่ได้รับจากทุกฝ่ายงาน เพื่อจัดทำทำหลักฐานประกันคุณภาพของหลักสูตร
รวบรวม เรียบเรียง และทำสำเนาเอกสารของฝ่ายเพื่อทำหลักฐานประกันคุณภาพ
ร่าง-พิมพ์ –ส่ง ดำเนินการบันทึกข้อความ และหนังสือราชการต่างๆที่เกี่ยวข้องของฝ่าย
จัดทำทะเบียนวัสดุ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์ต่างๆในความรับผิดชอบ
จัดทำเอกสารรายงานผลการปฏิบัติงานของฝ่าย
จัดระบบเอกสาร และเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ รองรับการขอข้อมูลของทั้งหน่วยงานภายใน และหน่วยงานภายนอก**

ผลผลิต  SAR   SSR
รายงานการประเมินตนเอง
รายงานการศึกษาตนเอง
รายงานผลการศึกษาตนเอง

งานKM ( เตรียมรับการประเมินจากองค์กรอิสระภายนอก)


จัดทำคู่มือปฏิบัติงานของฝ่ายประกันคุณภาพ ให้ทุกคนได้มีโอกาสเรียนรู้งานนี้ร่วมกัน(ทั้งเอกสารและ on line เพื่อบันทึกปัญหาแนวทางแก้ปัญหา และเพื่อการพัฒนาระบบงาน )
ฝึกนักศึกษาปฏิบัติงานประกันคุณภาพ
อบรมนักศึกษาให้เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการประกันคุณภาพ ในฐานะที่เป็นหน่วยสำคัญ ของระบบประกันคุณภาพ


รายการเอกสารอ้างอิงในแต่ละองค์ประกอบคุณภาพ (ขอข้อมูลจากแต่ละฝ่าย)

(ปรับจากข้อมูล SAR คณะ ปี ๒๕๕๑ รอปรับใหม่ให้เข้ากับงานหลักสูตร)
แผนยุทธศาสตร์ 4 ปี พ.ศ. 2549–2552


แผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ พ.ศ. 2551
รายงานผลการปฏิบัติงาน/โครงการ ไตรมาส 1- 4
เอกสารประกอบการอบรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ฯ
หลักสูตร (ฉบับปรับปรุง)
ตารางวิเคราะห์เนื้อหาความรู้ฯตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร
ข้อมูลบัณฑิต
แบบประเมินอาจารย์ผู้สอน
เอกสารการประชุมหลักสูตร
แฟ้มข้อมูลนักศึกษา
แผนบริหารการสอนที่ระบุวิธีสอนที่กำหนดหลักสูตร (ฉบับปรับปรุง)
สมุดประจำตัวผู้สอน
แบบประเมินอาจารย์ผู้สอน
เอกสารสรุปการปรับปรุงหลักสูตร
โครงการจัดบรรยายพิเศษจากบุคคลภายนอก /โครงการศึกษาดูงาน/ ฝึกงาน
โครงการศึกษาดูงาน/ ฝึกงาน
โครงการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
รายงานผลการศึกษาดูงาน /ฝึกงาน โครงการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
รายงานโครงการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
รายงานโครงการพัฒนานักศึกษา
รายงานผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
รายงานค่า FTES
แบบบันทึกข้อมูลอาจารย์ประจำ/กรรมการประจำหลักสูตร
แบบบันทึกข้อมูลอาจารย์/วิทยากรรับเชิญ
จรรยาบรรณวิชาชีพครู
จรรยาบรรณวิชาชีพ
ประกาศ ระเบียบ โครงการส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพ
ข้อกำหนด / กรรมการกำกับดูแล
ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ. 2547
ประกาศยุทธศาสตร์แผนงานวิจัย ปี 2551 – 2553
ทุนอุดหนุนการวิจัยและงานสร้างสรรค์ ปีงบประมาณ 2551 – 2552(ถ้ามี)
แผนงาน / โครงการสนับสนุนการทำวิจัยการเรียนการสอน
ผลงานวิจัย / นวัตกรรมการสอน
หลักฐานการเผยแพร่นวัตกรรมการสอน
แบบสอบถามบัณฑิต
แบบบันทึกข้อมูล บัณฑิต ป.ตรี
ข้อมูลบัณฑิต
หลักฐานการได้รับประกาศเกียรติคุณ
หลักฐานการเผยแพร่บทความ
ผลสำรวจความต้องการจำเป็นของมหาวิทยาลัย
ห้องปฏิบัติการภาษาไทย / ห้องสมุดภาษาไทย
เครื่องทำน้ำเย็น จุดให้บริการน้ำดื่ม
ตารางพบอาจารย์ที่ปรึกษา
เว็บไซด์หลักสูตร /บอร์ดประชาสัมพันธ์ /แผ่นพับ
โครงการกิจกรรมนักศึกษา
รายงานผลการประเมินโครงการ / กิจกรรม
โครงสร้างองค์กร
ฐานข้อมูลงานวิจัย (เว็บไซด์)
เกณฑ์ภาระงาน
โครงการพัฒนาบุลากรด้านการวิจัย
โครงการประชุมวิชาการ : การวิจัยทางการศึกษา
โครงการวิจัย / รายงานผลการวิจัย

หลักฐานการเผยแพร่วิจัย
แบบบันทึกข้อมูลโครงการวิจัย
ประกาศมหาวิทยาลัยเรื่องการให้บริการทางวิชาการ
รายงานการประเมินผลการดำเนินงาน
รายงานการปรับปรุงการบริการวิชาการ เช่น โครงการค่ายฝึกทักษะภาษาไทย
เอกสารหลักฐานการให้บริการวิชาการ
รายงานประเมินผลโครงการบริหารวิชาการ
รายงานผลโครงการบริการวิชาการ
เอกสารหลักฐานการให้บริการวิชาการ
โครงการประกวดแข่งขันต่างๆทางภาษาไทย
โครงการพัฒนาบุคลิกภาพ
หลักฐานชิ้นงานทางวัฒนธรรม
โครงการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม
โครงการกิจกรรมวันครู
รายงานผลการดำเนินโครงการ / กิจกรรม
รายงานผลการดำเนินโครงการ / กิจกรรม
รายงานงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2551
แผนการประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
เอกสารประกอบการประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
แบบประเมินคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
รายงานผลการประเมินคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
รายงานผลการประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
ระเบียบ ประกาศ เกณฑ์การสรรหา คัดเลือกผู้บริหารหน่วยงาน
รายงานผลการปฏิบัติงาน/โครงการ ไตรมาส 1-4
ผลการประเมินการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
รายงานสรุปผลการทำงานประจำปีของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
รายงานโครงการอบรมผู้บริหาร

อบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดความรู้ (KM) พัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน
รายงานผลการประเมินความพึงพอใจของบุคลากร
แบบประเมินความพึงพอใจของบุคลากร
นโยบายการจัดทำระบบฐานข้อมูลฯ
เว็บไซด์ของคณะ ลิงก์ไปยังหลักสูตร
ระบบฐานข้อมูลงานสารบรรณ
ภาพกิจกรรมทั้งหมด
รายการวิทยุ (อาจารย์/นักศึกษาในหลักสูตร จัดเองหรือจัดร่วม
คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประจำหลักสูตร
ชมรมผู้ปกครอง
แบบประเมินการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
เอกสารหลักฐานรางวัลผลงานวิชาการ
คำสั่งมอบหมายงานแก่กรรมการประจำหลักสูตร(ทุกตำแหน่งงาน)
ผลการวิเคราะห์ปัจจัยความเสี่ยง
แผนบริหารความเสี่ยง
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง
รายงานวัสดุคงเหลือและครุภัณฑ์ต่ำกว่าเกณฑ์
คำรับรองการปฏิบัติราชการ(คณะ)
รายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ
เอกสารการได้รับเงินรางวัลฯ(ถ้ามี)
จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า
คู่มือการวิเคราะห์ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานจากการใช้จ่ายงบประมาณ (PART)
รายงานความต้องการใช้ทรัพยากรของหลักสูตร
ตารางการใช้ทรัพยากรของหลักสูตร
คู่มือประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2551

SAR ปีการศึกษา 2552
SSR ปีการศึกษา 2552
ระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา (CHE QA ONLINE SYSTEM)
ระบบบริหารจัดการหลักสูตร(ทั้งระบบ)
โครงการอบรม
หลักฐานการเข้าร่วมประชุมสัมมนา
คู่มือนักศึกษา/แบบประเมินอาจารย์ที่ปรึกษา/แบบประเมินอาจารย์ผู้สอน
โครงการกิจกรรมนักศึกษา
การศึกษาดูงาน / การประชุมร่วม
หลักฐานแสดงเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพ เช่น ชมรม เว็บไซต์
รายงานการจัดกิจกรรมนักศึกษา
คู่มือประกันฯ ปีการศึกษา 2545–2550
หนังสือนำส่ง
รายงานผลการประเมินหลักสูตร
แบบประเมินหน่วยงาน / กรรมการประเมิน
 
ชื่อแบบบันทึกข้อมูล
1 หลักสูตร
2 อาจารย์
3 ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
4 ประเมินผู้สอน
5 นศ. รับเกียรติคุณ
6 จำนวน นศ.
7 กิจกรรม นศ.
8 e-learning
9 ค่าใช้จ่ายคอมฯ
10 บัณฑิต ป.ตรี
11 วิจัย
12 เผยแพร่วิจัย
13 วิทยานิพนธ์
14 รางวัลผลงานวิชาการ
15 โครงการบริการวิชาการ
16 อาจารย์ให้บริการวิชาการ
17 โครงการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม
18 ชิ้นงานทางวัฒนธรรม
19 พัฒนาอาจารย์
20 พัฒนาสายสนับสนุน
21 ความพึงพอใจผู้ใช้บัณฑิต
22 ความพึงพอใจบริการ นศ.  

ฝ่ายฐานข้อมูลและสารสนเทศ(รวมงานประชาสัมพันธ์)

รวบรวม เรียบเรียง และทำสำเนาเอกสารของฝ่ายเพื่อทำหลักฐานประกันคุณภาพ
ร่าง-พิมพ์ –ส่ง ดำเนินการบันทึกข้อความ และหนังสือราชการต่างๆที่เกี่ยวข้องของฝ่าย
จัดทำทะเบียนวัสดุ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์ต่างๆในความรับผิดชอบ
จัดทำเอกสารรายงานผลการปฏิบัติงานของฝ่าย
จัดทำเว็บไซต์สารสนเทศและประชาสัมพันธ์หลักสูตร
รวบรวมและบริการข้อมูลและสถิติต่างๆ
ข้อมูลทั่วไป (ลำดับตามข้อมูลพื้นฐานของมหาวิทยาลัย)

ระบบฐานข้อมูล(ภาพรวม)
ฐานข้อมูลหลักสูตร (ทรัพยากร งาน และกิจกรรมทั้งระบบ)
ฐานข้อมูลอาจารย์และนักศึกษา
ฐานข้อมูลบุคลากร(ถ้ามี)
ฐานข้อมูลศิษย์เก่า อาจารย์เกษียณอายุ (ทั้งระบบ)
ฐานข้อมูลผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ฐานข้อมูลความพึงพอใจของผุ้มีส่วนได้ส่วนเสีย (ราย 5 ปี)
ฐานข้อมูลทรัพยากรภายนอก
ฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายใน ภายนอก
ฐานข้อมูลแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
ฐานข้อมูลงานวิจัยและพัฒนาระบบงานหลักสูตร
ฐานข้อมูลสถานะของหลักสูตร(วิจัยจากการเปรียบเทียบสถานะหลักสูตรเดียวกันในระดับประเทศ)

ข้อมูลหลักสูตร

 ปีที่เริ่มทำการเรียนการสอน
 ปรัชญาหลักสูตร
c วิสัยทัศน์หลักสูตร
c พันธกิจหลักสูตร
c สีประจำหลักสูตร
c เพลงประจำหลักสูตร
c Slogan หลักสูตร
c หลักสูตรและแขนงวิชาที่เปิดสอน
c ทำเนียบอาจารย์ประจำ ตำแหน่งทางวิชาการ และคุณวุฒิ
c ทำเนียบอาจารย์พิเศษ ตำแหน่งทางวิชาการ และคุณวุฒิ
c ทำเนียบวิทยากร ตำแหน่งทางวิชาการ ความเชี่ยวชาญพิเศษและและคุณวุฒิ
c บัณฑิตกิตติมศักด์ ความเชี่ยวชาญพิเศษและและคุณวุฒิ
c กรรมการบริหารหลักสูตร (อาจารย์ประจำ อาจารย์พิเศษ และที่ปรึกษาคณะกรรมการ บริหารหลักสูตร)
c งบประมาณ
c พัฒนาการของหลักสูตร
c โครงสร้างการบริหารหลักสูตร ปีการศึกษา 2552
c ฝ่ายงานในหลักสูตรและผู้รับผิดชอบประจำฝ่ายงาน

c ข้อมูลพื้นฐานหลักสูตรและรายวิชา


c ข้อมูลพื้นฐานหลักสูตรและคำอธิบายรายวิชาทั้งหมด
c หลักสูตรและแขนงวิชาที่เปิดสอน จำแนกเป็นภาคเรียนและปีการศึกษา
c ข้อมูลพื้นฐานรายวิชา และอาจารย์ผู้สอน
c ข้อมูลพื้นฐานรายวิชา ที่ต้องเชิญอาจารย์นอกหลักสูตร
c ข้อมูลพื้นฐานรายวิชา ที่ต้องเชิญวิทยากรจากภายนอก
c ข้อมูลพื้นฐานรายวิชา ที่ต้องจ้างอาจารย์พิเศษรายเดือน
c ข้อมูลพื้นฐานรายวิชา ที่ต้องจ้างอาจารย์พิเศษรายชั่วโมง
c ข้อมูลพื้นฐานรายวิชา ที่ต้องนำนักศึกษาไปศึกษานอกสถานที่ หรือดูงานนอกสถานที่
(คำนวณค่าใช้จ่ายต่อคน ต่อ 1 รายวิชา)

c ข้อมูลพื้นฐานอาจารย์และนักศึกษา
c ข้อมูลอาจารย์
c จำนวนอาจารย์ประจำ ตำแหน่งทางวิชาการ คุณวุฒิ และวิชาหลักที่รับผิดชอบ
c จำนวนอาจารย์พิเศษ ตำแหน่งทางวิชาการ คุณวุฒิ และวิชาหลักที่รับผิดชอบ
c จำนวนวิทยากร ความเชี่ยวชาญพิเศษ ตำแหน่งทางวิชาการ คุณวุฒิ และวิชาหลักที่ ได้รับเชิญ
c อาจารย์ที่ปรึกษาและกลุ่มเรียนในความรับผิดชอบ (ภาคปกติ)
 
ข้อมูลภาระงานอาจารย์


c ภาระงานสอน
c ภาระงานพัฒนานักศึกษา
c ภาระงานวิจัย
c ภาระงานบริการวิชาการ
c ภาระงานทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม
c ข้อมูลการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา ของอาจารย์

ข้อมูลนักศึกษา


c ข้อมูลเฉพาะกลุ่มเรียน ของอาจารย์ที่ปรึกษา ( ประวัติ ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลจำเพาะ ข้อมูลจิตวิทยาc ข้อมูลความสัมพันธ์กับกลุ่มต่างๆในมหาวิทยาลัย ข้อมูลความสัมพันธ์กับกลุ่มเสี่ยง ฯลฯ )
c ตารางรวมจำนวนกลุ่มเรียนภาคปกติ จำนวนนักศึกษา และอาจารย์ที่ปรึกษา

 สถิติเกี่ยวกับจำนวนนักศึกษา ออกแบบตารางข้อมูลดังนี้
c แยกเป็นปีการศึกษา แยกแต่ละแขนงวิชา แยกเป็นชั้นปี (ระดับ)
แยกแต่ละกลุ่มเรียน
c แยกเป็นเพศชาย-หญิง แยกเป็นสถานภาพ ( academic status)
เช่น ยังไม่ลงทะเบียน รักษสภาพ ลาออก ย้ายสถานศึกษา เป็นต้น

c ข้อมูลคุณลักษณะทางวิชาชีพ ของนักศึกษาในหลักสูตร
c ข้อมูลสมรรถนะรวมนักศึกษา ( overall competencies)
c ข้อมูลการปฏิบัติกิจกรรมของนักศึกษา
c กิจกรรมในหลักสูตร (co-curriculum)
c กิจกรรมนอกหลักสูตร (extra-curriculum)
c กิจกรรมพิเศษ ( special activity )
c กิจกรรมตามปฏิทินกิจกรรมของโปรแกรมวิชา (เชื่อมกับฐานข้อมูลการออกเกียรติบัตร,วุฒิบัตร)
c ข้อมูลการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา ของนักศึกษา
c ข้อมูลความสามารถพิเศษของนักศึกษา
c ข้อมูลการได้รับรางวัลต่างๆของนักศึกษา

งานKM ( เตรียมรับการประเมินจากองค์กรอิสระภายนอก)


จัดทำคู่มือปฏิบัติงานของฝ่ายฐานข้อมูลและสารสนเทศ(รวมงานประชาสัมพันธ์)ได้มีโอกาสเรียนรู้งานนี้ร่วมกัน(ทั้งเอกสารและ on line เพื่อบันทึกปัญหาแนวทางแก้ปัญหา และเพื่อการพัฒนาระบบงาน )
ฝึกนักศึกษาปฏิบัติงานฐานข้อมูลและสารสนเทศ(รวมงานประชาสัมพันธ์)
ฝึกอบรมงานคอมพิวเตอร์โปรแกรมพื้นฐาน Word Excel Access และอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดการฐานข้อมูล


งานประกันคุณภาพ

รับผิดชอบหลักฐาน การให้ข้อมูลและการรายงานผล ตามตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง(ตามมติที่ประชุม)

4. ระบบงานฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

วัตถุประสงค์การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

 หน้าที่หลัก

งานฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู  หลักสูตรดำเนินการร่วมกับฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู  คณะครุศาสตร์ (กำลังปรับ)

หน้าที่งานประจำ
  • ร่าง-พิมพ์ –ส่ง ดำเนินการบันทึกข้อความ และหนังสือราชการต่างๆที่เกี่ยวข้องของฝ่าย
  • รวบรวม เรียบเรียง และทำสำเนาเอกสารของฝ่ายเพื่อทำหลักฐานประกันคุณภาพ
  • จัดทำทะเบียนวัสดุ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์ต่างๆในความรับผิดชอบ
  • จัดทำเอกสารรายงานผลการปฏิบัติงานของฝ่าย
ระยะก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

  • ประสานงานข้อมูลดำเนินการของฝ่าย และแจ้งให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทราบ(ในหลักสูตร)
  • กำหนดวันและระยะเวลาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู (บันทึกเชิญปฐมนิเทศ)
  • กำหนดวันและสถานที่นำเสนอผลงาน(การสัมมนาภายหลังการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู) (บันทึกเชิญประเมินผล)
  • กำหนดวัน เวลา สถานที่ และแนวปฏิบัติต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
  • กำหนดวัน เวลา สถานที่ประชุมอาจารย์เพื่อประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู (บันทึกเชิญประชุมประเมินผล)
  • ร่าง-พิมพ์-ส่ง และดำเนินการ โครงการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
  • คำนวณงบประมาณโครงการ ค่าวัสดุ (ทำคู่มือฝึกฯ + เอกสารประกอบการปฐมนิเทศ) ค่าใช้สอย กรณี มีค่าตอบแทนการนิเทศ ส่งแบบฟอร์มให้อาจารย์นิเทศเซ็นเบิกค่านิเทศ
  • ติดตามการเบิกจ่ายค่าตอบการแทนนิเทศ
  • ประชุมนักศึกษา ชี้แจงขั้นตอนก่อนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
  • จัดทำข้อมูลชี้แจงนักศึกษา ติดบอร์ด กำชับให้นักศึกษาอ่านและทำความเข้าใจทุกคน
  • ทำต้นฉบับคู่มือฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู เก็บข้อมูลในเครื่อง ทุกคนใช้งานได้
  • จัดทีม – มอบหมายงานนักศึกษา จัดทำคู่มือฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
  • มอบหมายงานนักศึกษา ทำข้อมูลตารางสถานที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และส่งที่ อาจารย์ผู้รับผิดชอบในเวลาที่กำหนด
  • อาจารย์ผู้รับผิดชอบหรืออาจารย์ที่ปรึกษา ทุกกลุ่มเรียน ตรวจสอบคุณสมบัติของนักศึกษาในการขอฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ให้เหมาะสมกับโรงเรียนที่ขอไปฝึก ตรวจ ความถูกต้องของชื่อโรงเรียน ที่อยู่ทางไปรษณีย์ เบอร์โทร. ตำแหน่งผู้บริหาร ชื่อ สกุล ฝ่ายงานที่ฝึกและเบอร์โทร.นักศึกษา
  • ส่งตารางสถานที่ฝึกงานให้คณะทำหนังสือ ขอความอนุเคราะห์ และหนังสือส่งตัว
  • ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบทำหนังสือขอความอนุเคราะห์ และหนังสือส่งตัว
  • กำชับนักศึกษาให้ติดตามหนังสือตอบรับในเวลาที่กำหนด
  • จัดทำฐานข้อมูลการนิเทศ สำหรับอาจารย์(จังหวัด หน่วยงานและแผนที่)
  • จัดการปฐมนิเทศก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพและประสานงานธุรการทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง
  • จัดทำเอกสารประกอบการปฐมนิเทศ (ร่าง ตรวจเนื้อหา พิมพ์ เรียง เย็บชุด แจก)
  • จัดทำคู่มือการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู  หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย สำหรับนักศึกษาสังกัดหลักสูตร เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
  • จัดทีมนักศึกษา จัดเตรียมงานปฐมนิเทศก่อนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
ระยะฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
  • ประสานงานอาจารย์นิเทศก์วิชาเอก และอาจารย์นิเทศก์โรงเรียนร่วมกับฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูคณะครุศาสตร์
  • ประสานงานอาจารย์นิเทศก์วิชาเอก รายงานผลการนิเทศต่อที่ประชุมกรรมการหลักสูตรตามระยะเวลาที่กำหนด
  • ประสานงานการแก้ไขปัญหาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูทั้งหมดของหลักสูตรร่วมกับอาจารย์นิเทศก์วิชาเอกและอาจารย์นิเทศก์โรงเรียน
  • จัดทำแบบรายงานผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
  • จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจของผู้บริหาร อาจารย์พี่เลี้ยง และนักเรียน
ระยะภายหลังการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู : รายงานผลและประเมินผล
  • จัดทีมนักศึกษา จัดเตรียมงานสัมมนาภายหลังการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
  • ส่งบันทึกข้อความ ขออนุญาตอาจารย์ผู้สอนรายวิชานอกโปรแกรมวิชา เพื่อขออนุญาตให้นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย ทุกชั้นปีเข้าฟังการนำเสนอผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของรุ่นพี่
  • ออกแบบฟอร์มการประเมินผลเสนอที่ประชุม สรุปและ จัดทำเอกสารประเมินผล
  • ประมวลผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู เขียนเกรด ส่งเกรด แจ้งนักศึกษาที่ยังไม่ผ่านมาฝึกปฏิบัติงานเพิ่มเติม
  • ประสานงานอาจารย์ดูแลนักศึกษาที่ยังไม่ผ่านการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
  • ประสานงานการประเมินผลนักศึกษาที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู เพิ่มเติม
  • ประสานงานการขอคืนรายงานผลให้แก่นักศึกษา (ใช้สมัครงาน) กำหนดเวลา รับผิดชอบการคืนจนแล้วเสร็จ
  • ทำหนังสือขอบคุณหน่วยงาน ในนามคณะ
  • จัดหาของที่ระลึกสำหรับมอบโรงเรียนเพื่อแสดงความขอบคุณ ถ้ามีงบประมาณ
  • * * *เตรียมการส่งนักศึกษาเข้าโครงการสหกิจศึกษา * * *
งานKM ( เตรียมรับการประเมินจากองค์กรอิสระภายนอก)

  • จัดทำคู่มือปฏิบัติงานของฝ่ายงานฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูได้มีโอกาสเรียนรู้งานนี้ร่วมกัน(ทั้งเอกสารและ on line เพื่อบันทึกปัญหาแนวทางแก้ปัญหา และเพื่อการพัฒนาระบบงาน )
  • ฝึกนักศึกษาปฏิบัติงานฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู (และงานเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู)
งานประกันคุณภาพ

  • รับผิดชอบหลักฐาน การให้ข้อมูลและการรายงานผล ตามตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง(ตามมติที่ประชุม)

3. ระบบงานพัฒนานักศึกษา

๓. ระบบงานพัฒนานักศึกษา



วัตถุประสงค์การดำเนินงาน


หน้าที่หลัก

  • ร่าง-พิมพ์ –ส่ง ดำเนินการบันทึกข้อความ และหนังสือราชการต่างๆที่เกี่ยวข้องของฝ่าย
  • รวบรวม เรียบเรียง และทำสำเนาเอกสารของฝ่ายเพื่อทำหลักฐานประกันคุณภาพ
  • จัดทำทะเบียนวัสดุ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์ต่างๆในความรับผิดชอบ
  • จัดทำเอกสารรายงานผลการปฏิบัติงานของฝ่าย
  • ประสานงานข้อมูลดำเนินการของฝ่าย และแจ้งให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทราบ(ในหลักสูตร)
กิจกรรมพัฒนานักศึกษา (ในและนอกหลักสูตร )

  • โครงการพัฒนาทักษะภาษาไทย สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1
  • โครงการพัฒนาทักษะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
  • โครงการพัฒนาทักษะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ขั้นสูง
  • โครงการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ
  • โครงการพัฒนาทักษะงานสำนักงาน
  • โครงการพัฒนาทักษะบูรณาการ(อ.สุขุมาล ดำเนินการแล้ว ตั้งแต่ปีการศึกษา 2551)
  • โครงการพัฒนาการเขียนเพื่อการสื่อสาร
  • โครงการพัฒนาทักษะการสื่อสารบูรณาการ
  • โครงการพัฒนาทักษะด้านกิจกรรมและงานต่างๆ (มีโครงการย่อยอีกเป็นจำนวนมาก)
  • การเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา
  • การได้รับคัดเลือกให้รับรางวัลต่างๆ หรือเกียรติบัตร หรือการรับรองผ่านประสบการณ์
กิจกรรมหลักสูตร ( หลักสูตรเป็นเจ้าภาพ ดำเนินการโดยนักศึกษา)
  • งานปฐมนิเทศของหลักสูตร
  • งานปัจฉิมนิเทศของหลักสูตร
  • งานเลี้ยงต้อนรับและแสดงความยินดีกับพี่บัณฑิต
  • งานชุมนุมศิษย์เก่า
  • งานอาจารย์เกษียณอายุราชการ มุทิตาคารวะอาจารย์เกษียณอายุ
  • กิจกรรมวันสุนทรภู่
  • กิจกรรมวันภาษาไทย
  • กิจกรรมพัฒนานักศึกษา (ทักษะภาษาไทยครบวงจร)
  • กิจกรรมนักศึกษา (นักศึกษาดำเนินการเอง โดยอาจารย์ให้คำแนะนำตามสมควร)
  • งานรับน้องใหม่
  • งานกระชับมิตรและสร้างสามัคคีระหว่างเพื่อนและพี่น้อง
  • งานชมรมสีสันวรรณกรรม
  • งานชมรมตามกลุ่มสนใจ
กิจกรรมและงานคณะ
  • งานสโมสรนักศึกษา
  • กิจกรรมต่างๆที่คณะขอความร่วมมือ
  • งานปฐมนิเทศระดับคณะ
  • งานปัจฉิมนิเทศระดับคณะ
กิจกรรมมหาวิทยาลัย

  • งานปฐมนิเทศระดับมหาวิทยาลัย
  • งานปัจฉิมนิเทศระดับมหาวิทยาลัย
  • งานพิธีไหว้ครู
  • งานราชภัฏวิชาการ/ครุศาสตร์วิชาการ
  • งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • งานการฝึกซ้อมพิธีรับพระราชทานปริญญาบัตร
กิจกรรมตามประเพณี นักขัตฤกษ์ และโอกาสพิเศษ

  • งานปีใหม่
  • งานวันเด็ก
  • งานให้ทานไฟ
  • งานแห่ผ้าขึ้นธาตุ
  • งานแห่หฺมฺรับ
  • งานแต่งงาน (ฝึก ORGANIZER เป็นทักษะงาน EVENTS การออกแบบงานและการทำงานเป็นระบบในองค์กร)
กิจกรรมจังหวัด ชุมชน ท้องถิ่น กิจกรรมระดับชาติ และกิจกรรมนานาชาติ
  • งานพัฒนาทักษะวิชาการและการวิจัย ในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย การวางแผนและ
  • โครงการพิเศษต่าง
Push นักศึกษาที่มีความสามารถเชิงวิชาการ ไกด์ให้เรียนต่อปริญญาโท
งานทุนการศึกษา (เชื่อมกับ ฐานข้อมูลประวัติการรับทุนการศึกษา)

งานKM ( เตรียมรับการประเมินจากองค์กรอิสระภายนอก)

  • จัดทำคู่มือปฏิบัติงานของฝ่ายงานพัฒนานักศึกษาให้ทุกคนได้มีโอกาสเรียนรู้งานนี้ร่วมกัน(ทั้งเอกสารและ on line เพื่อบันทึกปัญหาแนวทางแก้ปัญหา และเพื่อการพัฒนาระบบงาน )
  • ฝึกนักศึกษาปฏิบัติฝ่ายงานพัฒนานักศึกษา

งานประกันคุณภาพ

  • รับผิดชอบหลักฐาน การให้ข้อมูลและการรายงานผล ตามตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง(ตามมติที่ประชุม)

วันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2553

2. ระบบงานวิชาการ

วัตถุประสงค์การดำเนินงาน

วางแผนระบบงานวิชาการทั้งระบบ ดำเนินงานพัฒนาหลักสูตร และการจัดการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัย รับผิดชอบ ดำเนินการและควบคุมคุณภาพการเรียน จัดการสอนรายวิชาให้เป็นไปตามระบบและกลไก ให้ได้มาตรฐานการประกันคุณภาพ โดยการประชุมร่วมกันของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ผู้ทรงคุณวุฒิและผุ้ใช้บัณฑิต การดำเนินการเป็นไปตามมติที่ประชุม (กรณีมีการเปลี่ยนแปลงมติ ต้องผ่านที่ประชุมทุกครั้ง)

หน้าที่หลัก

รับผิดชอบดำเนินการตามมติที่ประชุมกรรมการบริหารหลักสูตรในการประสานงานการเรียนจัดการสอนรายวิชา ให้เป็นไปตามระบบกลไก มาตรฐานการประกันคุณภาพร่วมวางแผนการจัดการเรียนการสอน ให้เป็นไปตามระบบกลไก มาตรฐานการประกันคุณภาพสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1.ประสานงานการจัดแผนการเรียนให้เป็นตามระบบและกลไกการประกันคุณภาพ /สกอ. /สมศ./กพร. ตามมติที่ประชุมกรรมการบริหารหลักสูตร

  1. ประสานงานคณะกรรมการวิชาการคณะ หมวดวิชาชีพครู
  2. ประสานงานอาจารย์สังกัดหลักสูตร หมวดวิชาเฉพาะ(เอก) ตามฐานข้อมูลผู้สอน (หลักฐาน ตารางใบเซ็นชื่อรับรองว่าสามารถสอนและเขียนเอกสารประกอบการสอน รายวิชาที่รับผิดชอบสอน)
  3. ประสานงานอาจารย์พิเศษและวิทยากร (ทั้งภายในและภายนอก)
  4. ประสานงานการจัดแผนการเรียนและผู้สอน เพื่อจัดทำแผนการเรียน ตารางรายวิชาและผู้สอน
  5. ประสานงานและร่วมกันแก้ปัญหาต่างๆในการจัดแผนการเรียนและผู้สอน
  6. ร่าง พิมพ์ ปริ๊นต์ ถ่ายสำเนา บันทึกข้อความและเอกสารราชการของฝ่ายวิชาการทั้งหมด
  7. เก็บหลักฐานเข้าแฟ้มเป็นระบบ
2. ประสานงานการพัฒนาหลักสูตร  ให้เป็นตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และระบบและกลไกการประกันคุณภาพ /สกอ. /สมศ./กพร.และเป็นเลขานุการงานพัฒนาหลักสูตร
  1. ประสานงานผู้ทรงคุณวุฒิ
  2. ประสานงานอาจารย์สังกัดหลักสูตร
  3. ร่วมดำเนินงานพัฒนาหลักสูตรและจัดหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานพัฒนาหลักสูตร เพื่ออำนวยความสะดวกแก่กรรมการ
  4. จัดทำ Follow up งานพัฒนาหลักสูตร
  5. ร่าง พิมพ์ ปริ๊นต์ ถ่ายสำเนา บันทึกข้อความและเอกสารราชการงานพัฒนาหลักสูตรทั้งหมด
  6. เก็บหลักฐานเข้าแฟ้มเป็นระบบ
3 .จัดทำแผนปฏิบัติการวิชาการประจำปีการศึกษา

  1.  วิเคราะห์นโยบาย แผนงานวิชาการของมหาวิทยาลัยวิทยาลัย
  2. เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริหารและกรรมการวิชาการ เพื่อหาแนวทางในการพัฒนา
  3. ดำเนินการจัดทำแผนงานวิชาการของหลักสูตรร่วมกับทีมกรรมการ โดยให้ครอบคลุม/สอดคล้องกับ แผนงาน นโยบายของมหาวิทยาลัย
  4. ดำเนินงานตามแผน
  5. ประเมินแผนงานและรายผลต่อที่ประชุมกรรมการบริหาร
4. งานประกันคุณภาพตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษา

  1. จัดทำฐานข้อมูลของกลุ่มวิชาตามตัวชี้วัดการประกันคุณภาพ
  2. เขียนรายงานการประเมินตนเอง
  3. รับการประเมินคุณภาพการศึกษา
  4. รับผิดชอบหลักฐาน การให้ข้อมูลและการรายงานผล ตามตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง(ตามมติที่ประชุม)

5. งานวิจัยและบริการวิชาการ
  1. สนับสนุนการทำผลงานวิชาการและงานวิจัย
  2. พัฒนาอาจารย์ให้สามารถเป็นวิทยากร อาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัย
  3. จัดหาข้อมูลแหล่งทุนการวิจัยและการบริการวิชาการสำหรับอาจารย์สังกัดหลักสูตร
  4. ฐานข้อมูลงานวิจัยของอาจารย์ ฐานข้อมูลงานวิจัยของนักศึกษา งานบริการวิชาการ งานบริการชุมชน งานทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรมโครงการต่างๆ ฯลฯ
  5. จัดทีมนักศึกษา รับทำวิจัยโครงการต่างๆ การวิจัยการสื่อสารทุกรูปแบบ (ฝึกเป็นผู้ช่วยนักวิจัย)
  6. จัดทีมนักศึกษาเป็นผู้ช่วยจัดเตรียมงานบริการวิชาการและงานอื่นๆ (ทีม organizer)
งานจัดการความรู้ ( เตรียมรับการประเมินจากองค์กรอิสระภายนอก)
  • จัดทำคู่มือปฏิบัติงานของฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ (ทั้งเอกสารและ on line เพื่อบันทึกปัญหาและแนวทางแก้ปัญหา ให้ทุกคนได้มีโอกาสเรียนรู้งานนี้ร่วมกัน)
  • ฝึกนักศึกษาปฏิบัติงานวิชาการ งานวิจัย และงานบริการวิชาการ
ระดับงานจากง่ายไปหายากและผลผลิตที่คาดหวัง

  1. บันทึกข้อความ /เอกสารประสานงานวิชาการทั้งหมดพร้อมหลักฐานเอกสารแนบทุกชุด
  2. ขั้นตอนการประสานงานและการดำเนินงาน(แต่ละงาน)
  3. ตารางรายวิชาและผู้สอนทุกภาคเรียน (อ.สุขุมาล ดำเนินการแล้ว)
  4. แผนการเรียนตลอดหลักสูตร
  5. การจัดการความรู้งานวิชาการ
  6. ระบบงานวิชาการของหลักสูตร
  7. การจัดการความรู้งานพัฒนาหลักสูตร
  8. ระบบงานพัฒนาหลักสูตร
  9. แผนปฏิบัติงานวิชาการประจำปี
  10. แผนปฏิบัติงานวิชาการ 5 ปี
  11. รายงานการวิเคราะห์นโยบาย
  12. รายงานผลการปฏิบัติงานวิชาการ
  13. ระบบฐานข้อมูลการประกันคุณภาพการศึกษา
  14. SSR ระบบงานวิชาการ
  15. รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษา (งานวิชาการ)
  16. ระบบการประสานงานที่มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามกลไกการประกันคุณภาพ
หน้าที่งานประจำและคุณสมบัติของผู้รับผิดชอบงานฝ่ายวิชาการ
  • ร่าง-พิมพ์ –ส่ง ดำเนินการบันทึกข้อความ และหนังสือราชการต่างๆที่เกี่ยวข้องของฝ่าย
  • รวบรวม เรียบเรียง และทำสำเนาเอกสารของฝ่ายเพื่อทำหลักฐานประกันคุณภาพ
  • จัดทำทะเบียนวัสดุ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์ต่างๆในความรับผิดชอบ
  • จัดทำเอกสารรายงานผลการปฏิบัติงานของฝ่าย
  • ประสานงานข้อมูลดำเนินการของฝ่าย และแจ้งให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทราบ(ในหลักสูตร)งานวิชาการ
  • กรรมการหลักสูตรจัดแผนการเรียนของแต่กลุ่มเรียนตามหลักสูตร โดยประชุมร่วมกันทุกครั้ง
  • ที่ประชุมกรรมการและอาจารย์ที่ปรึกษาจะร่วมกันเป็นผู้พิจารณาปรับรายวิชา สำหรับกลุ่มเรียนที่ปรึกษา หรือสำหรับนักศึกษาเฉพาะรายบุคคล
  • ตรวจสอบแผนการเรียน ภาคปกติ ส่งสำนักส่งเสริมวิชาการการดำเนินการเป็นไปตามมติที่ประชุม (กรณีมีการเปลี่ยนแปลงมติ และกรณีการปรับแก้ข้อมูลใดๆต้องผ่านที่ประชุมทุกครั้ง)
  • ติดตามผลการปรับแผนการเรียน  ที่สำนักส่งเสริมวิชาการ
  • ประสานงานผู้สอน รายวิชา ภาคปกติ
  • ร่าง- พิมพ์ - ส่ง – ติดตามผล -ประสานงาน บันทึกข้อความเชิญผู้สอน ต่างคณะ
  • ทำหนังสือราชการ เชิญผู้สอนภายนอก
  • จัดผู้สอนรายวิชาภาคปกติ ตามมติที่ประชุมกรรมการหลักสูตร หลักฐานนำส่งสำนักส่งเสริมวิชาการ
  • ติดต่อประสานงานผู้สอน ทุกคน ยืนยันหรือแจ้งการเปลี่ยนแปลง(ด้วยตนเองหรือโทรศัพท์) make good connection
  • ทำฐานข้อมูลรายวิชาแต่ละภาคเรียน แยกหน่วยกิตภาคทฤษฎีและปฏิบัติ และจำนวนภาระงานสอน เพื่อขออนุญาตจ้างอาจารย์พิเศษ รายเดือน รายชั่วโมง
  • ทำแผนการจ้างอาจารย์พิเศษ ตามฐานข้อมูลรายวิชาที่ไม่มีผู้สอน
  • ร่าง-พิมพ์ –ส่ง ดำเนินการบันทึกข้อความ และหนังสือราชการต่างๆที่เกี่ยวข้องของฝ่าย
ความยากง่ายของงาน (Major Challenge)
  • ต้องจัดระบบและกลไกของงาน/กิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน เพื่อผลิตบัณฑิตครุศาสตร์ตามเป้าหมายของมหาวิทยาลัย และแข่งขันผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ
  • ต้องรวบรวมและจัดระบบเอกสาร หลักฐาน ที่เกี่ยวข้องต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อรอรับการประเมินคุณภาพภายใน
  • ต้องประสานงานการจัดการเรียนการสอน กับอาจารย์ผู้สอนรายวิชาต่างๆ ที่มีความแตกต่างหลากหลายโดยยังรักษา Connection ที่ดีต่อกันไว้ได้
  • ต้องประสานงานการจัดการเรียนการสอน กับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ฝ่ายวิชาการคณะครุศาสตร์ และอาจารย์ผู้สอนที่เรียนเชิญจากภายนอก โดยสามารถประสานงานได้ลงตัว เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย
ที่มา : ข้อมูลการวิเคราะห์หน้าที่งานตามองค์ประกอบและตัวบ่งชี้จากคู่มือประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

1.ระบบงานบริหาร

 1.1  ประธานหลักสูตร


สมรรถนะ ประธานกรรมการบริหารหลักสูตร

มีภาวะผู้นำ มีความสามารถในการบริหารจัดการ  การตัดสินใจดี สามารถวิเคราะห์นโยบาย วางแผนงานที่นำไปสู่การปฏิบัติได้สามารถบริหารจัดการงานหลักสูตรได้   เข้าใจงานหลักสูตรอย่างดี มีสมรรถนะในการสื่อสาร การจับประเด็นและการถ่ายทอดสาร เป็นตัวแทนหลักสูตรในการร่วมการประชุมตัดสินใจเรื่องสำคัญต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกับหลักสูตรได้

ขอบข่ายหน้าที่งาน

งานบริหารและงานประชุม
  • ดำเนินการประชุมกรรมการประจำหลักสูตร ในฐานะประธานในที่ประชุม
  • ประชุมร่วมกับคณะ บันทึกข้อมูล และส่งข้อมูลพร้อมนำเอกสารที่เกี่ยวข้อง
  • มอบเลขานุการหลักสูตร หรือผู้เกี่ยวข้องแจ้งประสานงานไปยังอาจารย์ประจำหลักสูตรทุกคน
  • ประชุมร่วมกับกรรมการเฉพาะกิจของมหาวิทยาลัย กรณีประชุมกับหน่วยงานภายนอก บันทึกข้อมูลการประชุมเป็นลายลักษณ์อักษรทุกครั้ง และส่งข้อมูลพร้อมนำเอกสารที่เกี่ยวข้อง มอบเลขานุการหลักสูตรแจ้งประสานงานไปยังอาจารย์ประจำหลักสูตรทุกคน
  • นัดหมายการประชุมกรรมการประจำหลักสูตร เป็นวาระประจำ
  • ประสานงาน ระหว่างคณะ มหาวิทยาลัย และหน่วยงานต่างๆ กับหลักสูตร แจ้งข้อมูลการประชุม การชี้แจง ฯลฯ ให้กรรมการประจำหลักสูตรทุกคนได้รับทราบในเวลาเหมาะสม ทันการณ์
  • ตัดสินใจเรื่องต่างๆร่วมกับคณะกรรมการประจำหลักสูตร กรณีเป็นเรื่องเร่งด่วน อาจตัดสินใจและรับผิดชอบในฐานะประธานหลักสูตร โดยประสานผ่านที่ประชุมหรือแจ้งผ่าน เอกสารหนังสือราชการภายใน
  • เก็บหลักฐานสำคัญที่ได้รับการประสานงาน นำส่งเลขานุการหลักสูตรเพื่อทำสำเนาหรือเพื่อเก็บเข้าแฟ้ม เป็นหลักฐานของหลักสูตรทุกครั้ง
  • ลงนามในทึกข้อความ และหนังสือราชการต่างๆที่เกี่ยวข้องของหลักสูตรอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
งานจัดการความรู้

  • บันทึกจัดการความรู้การปฏิบัติงานตำแหน่งประธานหลักสูตร อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
งานประกันคุณภาพ

  • รับผิดชอบการให้ข้อมูล ตามตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง(ตามมติที่ประชุม)
1.2  เลขานุการหลักสูตร (ปรับใหม่ได้ เพราะภาระงานมากเกินไป)

สมรรถนะ  เลขานุการคณะกรรมการบริหารหลักสูตร มีความสามารถในการบริหารจัดการงานอย่างเป็นระบบ  มีสมรรถนะในการสื่อสาร มีความละเอียดรอบคอบ เข้าใจงานหลักสูตรอย่างดี มีความรู้ในงานสารบรรณและงานสำนักงาน สามารถจัดการงานสำนักงานและงานอื่นๆได้อย่างดี มีสมรรถนะในการประสานงาน สามารถสื่อสารสร้างความเข้าใจและสร้างความร่วมมือในหลักสูตรได้

ขอบข่ายหน้าที่งาน

งานธุรการ
  • ร่าง-พิมพ์ –ส่ง ดำเนินการบันทึกข้อความ และหนังสือราชการต่างๆที่เกี่ยวข้องของฝ่าย
  • รวบรวม เรียบเรียง และทำสำเนาเอกสารของฝ่ายเพื่อทำหลักฐานประกันคุณภาพ
  • จัดทำทะเบียนวัสดุ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์ต่างๆในความรับผิดชอบ
  • จัดทำเอกสารรายงานผลการปฏิบัติงานของฝ่าย
  • ประสานงานข้อมูลดำเนินการจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และแจ้งให้ทุกฝ่ายทราบ

งานประชุม
  • จัดการประชุมกรรมการบริหารหลักสูตร (วาระประชุมปกติ)
  • จัดการประชุมกรรมการบริหารหลักสูตรและกรรมการที่ปรึกษา (วาระประชุมประจำปีการศึกษา)
  • เตรียมการก่อนการประชุม เตรียมอุปกรณ์สำนักงานที่เกี่ยวข้อง โต๊ะ เก้าอี้ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
  • เตรียมอาหารว่าง-น้ำ ดูแลการเสิร์ฟและจัดเก็บ หลังเสร็จการประชุม
  • ประสานงานขอวาระการประชุมจากสมาชิก
  • ส่งบันทึกข้อความเชิญประชุม
  • จดบันทึกการประชุม
  • สังเคราะห์ข้อมูลการประชุม สรุปเป็นความรู้ ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ นโยบาย และแนวปฏิบัติ
  • จัดเก็บข้อมูลความรู้ทุกชุดให้เป็นระบบในคอมพิวเตอร์ พร้อมเรียกใช้งาน
  • พิมพ์รายงานการประชุม
  • จัดทำเอกสารประกอบการประชุม(พิมพ์ต้นฉบับ ตรวจแก้ ถ่ายเอกสาร เรียง เย็บ ทำปกเอกสาร พิมพ์/เขียนเลขหน้า นำไปแจกในที่ประชุม เก็บที่เหลือคืน เข้าแฟ้มเอกสารประกอบการประชุมทุกครั้ง)
  • ติดตามผลการประชุมเพื่อทำวาระสืบเนื่อง แจ้งผลวาระสืบเนื่องทุกครั้ง
  • วางแผนการประชุมครั้งต่อไป วางแผนจัดลำดับความสำคัญ กำหนดวาระการประชุมคำนวณเวลา ให้ใช้เวลาน้อยที่สุดแต่เกิดประสิทธิผลสูงสุด (พูดเสร็จแล้ว รับผิดชอบลงมือทำต่อจนบังเกิดผลจริง)

งานสารบรรณและหนังสือราชการ
  • พิมพ์บันทึกข้อความและหนังสือราชการต่างๆที่เกี่ยวข้อง
  • บันทึกข้อความแต่งตั้งกรรมการหลักสูตร(ประธาน- ผ่านที่ประชุมหลักสูตร)
  • บันทึกข้อความแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษา(ประธาน-ผ่านที่ประชุมหลักสูตร)
  • บันทึกข้อความแต่งตั้งกรรมการต่างๆ (ประธาน- ผ่านที่ประชุมหลักสูตร)
  • ร่าง คำสั่งแต่งตั้งกรรมการต่างๆ (ประธาน- ผ่านที่ประชุมหลักสูตร)
  • นำส่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (บันทึกข้อความ และหนังสือราชการต่างๆ)
  • ติดตามผล ด้วยวาจา ทางโทรศัพท์ อีเมล และเอกสารตอบกลับ
งานประชาสัมพันธ์ภายในหลักสูตร


  • รับเอกสารประชาสัมพันธ์ต่างๆ เสนอประธานบันทึกถึงผู้เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) และติดประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่างๆในพื้นที่ประชาสัมพันธ์ของหลักสูตรและกำหนดวันดึงเก็บเข้าแฟ้ม ดึงเอกสารออกเมื่อถึงกำหนด เจาะเอกสารและนำเก็บเข้าแฟ้มประชาสัมพันธ์ หรือแฟ้มที่เกี่ยวข้อง
  • โทรศัพท์ประสานงานเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้อง
  • นำเอกสารราชการส่งหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง
  • นำเอกสารส่งกรรมการบริหารหลักสูตร โดยนำใส่ช่องจดหมาย สำนักงานอธิการบดีหรือนำใส่ช่องเอกสารอาจารย์ที่สำนักงานเลขานุการคณะครุศาสตร์
งานฐานข้อมูลปฏิบัติงานของหลักสูตร
  • ดูแลการจัดFolder และ File บันทึกข้อความ ในเครื่องฐานข้อมูลกลาง ของทุกฝ่ายงานให้เป็นระบบ จัดเนื้อหาให้เป็นหมวดหมู่ ชัดเจน หาง่าย ตรวจสอบได้ง่าย ปรับข้อมูลให้เป็นปัจจุบันและให้ถูกต้องอยู่เสมอ(ตรวจสอบไม่ให้มีการพิมพ์ File ปะปน ตั้งชื่อไฟล์ชัดเจน ใสโฟลเดอร์แยกหมวดหมู่)
 งานKM ( เตรียมรับการประเมินจากองค์กรอิสระภายนอก)
  • จัดทำคู่มือปฏิบัติงานของฝ่ายเลขานุการ (ทั้งเอกสารและ on line เพื่อบันทึกปัญหาและแนวทางแก้ปัญหา ให้ทุกคนได้มีโอกาสเรียนรู้งานนี้ร่วมกัน)
  • ฝึกนักศึกษาปฏิบัติงานเลขานุการ
 งานพัสดุและครุภัณฑ์ของฝ่ายงาน
  • ร่าง-พิมพ์ –ส่ง ดำเนินการบันทึกข้อความ และหนังสือราชการต่างๆที่เกี่ยวข้องของฝ่าย
  • รวบรวม เรียบเรียง และทำสำเนาเอกสารของฝ่ายเพื่อทำหลักฐานประกันคุณภาพ
  • จัดทำทะเบียนวัสดุ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์ต่างๆในความรับผิดชอบ
  • จัดทำเอกสารรายงานผลการปฏิบัติงานของฝ่าย
  • ประสานงานข้อมูลดำเนินการของฝ่าย และแจ้งให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทราบ(ในหลักสูตร)
  • จัดทำบัญชีวัสดุ ครุภัณฑ์ทั้งหมด ลงหมายเลขครุภัณฑ์ พร้อมตรวจสอบได้
  • ตั้งกรรมการตรวจสอบบัญชีครุภัณฑ์ และตรวจสอบครุภัณฑ์ให้อยู่เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
  • ทำฐานส่งข้อมูลให้ฝ่ายฐานข้อมูลและสารสนเทศ
  • ปรับข้อมูลเป็นหลักฐานประกันคุณภาพ(เรามีทรัพยากรสนับสนุนการเรียนการสอนอะไรบ้าง) ส่งฝ่ายประกันคุณภาพ
  • การดูและกำกับการใช้งานวัสดุ ครุภัณฑ์ต่างๆในความดูแลรับผิดชอบ
  • การบันทึกหลักฐานภาพ พัสดุ ครุภัณฑ์ สำหรับงานประกันคุณภาพ
  • การติดตามการบันทึกการใช้งานครุภัณฑ์ (คู่กับฝ่ายห้องปฏิบัติการ)
  • การตรวจสอบและแจ้งสถานะครุภัณฑ์ (คู่กับฝ่ายห้องปฏิบัติการ)
  • การประสานงานแจ้งซ่อม – แจ้งจำหน่ายครุภัณฑ์ชำรุด (ร่วมกับอาจารย์ผู้สอนและรับผิดชอบเครื่องมือ)
งานKM ( เตรียมรับการประเมินจากองค์กรอิสระภายนอก)
  • จัดทำคู่มือปฏิบัติงานของฝ่ายพัสดุและครุภัณฑ์ให้ทุกคนได้มีโอกาสเรียนรู้งานนี้ร่วมกัน(ทั้งเอกสารและ on line เพื่อบันทึกปัญหาแนวทางแก้ปัญหา และเพื่อการพัฒนาระบบงาน )
  • ฝึกนักศึกษาปฏิบัติงานพัสดุและครุภัณฑ์
 
งานห้องปฏิบัติการ


  • ร่าง-พิมพ์ –ส่ง ดำเนินการบันทึกข้อความ และหนังสือราชการต่างๆที่เกี่ยวข้องของฝ่าย
  • รวบรวม เรียบเรียง และทำสำเนาเอกสารของฝ่ายเพื่อทำหลักฐานประกันคุณภาพ
  • จัดทำทะเบียนวัสดุ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์ต่างๆในความรับผิดชอบ
  • จัดทำเอกสารรายงานผลการปฏิบัติงานของฝ่าย
  • ประสานงานข้อมูลดำเนินการของฝ่าย และแจ้งให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทราบ(ในหลักสูตร)
  • บันทึกภาพนิ่งห้องปฏิบัติการ ก่อน/หลังการปรับปรุงพัฒนา ทุกครั้ง
  • เผยแพร่ภาพห้องปฏิบัติการในสื่อสิ่งพิมพ์ ประชาสัมพันธ์ และในเว็ปไซต์ (ควรเป็นวิดีโอคลิป)
  • ดูความพร้อมใช้งานของห้องปฏิบัติการทั้งในและนอกเวลาราชการ
  • ดูแลการใช้งานห้องปฏิบัติการให้เป็นระเบียบ และให้บริการอย่างยุติธรรมเท่าเทียมกัน
  • จัดทำตารางการใช้งาน ติดประชาสัมพันธ์ให้เป็นปัจจุบัน
  • จัดทำ และปรับฐานข้อมูลการใช้งานห้องปฏิบัติการในเว็บไซต์ให้เป็นปัจจุบัน

งานKM ( เตรียมรับการประเมินจากองค์กรอิสระภายนอก)


  • จัดทำคู่มือปฏิบัติงานของฝ่ายห้องปฏิบัติการ (ทั้งเอกสารและ on line เพื่อบันทึกปัญหาและแนวทางแก้ปัญหา ให้ทุกคนได้มีโอกาสเรียนรู้งานนี้ร่วมกัน)
  • ฝึกนักศึกษาปฏิบัติงานห้องปฏิบัติการ
งานประกันคุณภาพ


  • รับผิดชอบหลักฐาน การให้ข้อมูลและการรายงานผล ตามตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง(ตามมติที่ประชุม)
 
๑.๓ งานแผนและงบประมาณ


  • ร่าง-พิมพ์ –ส่ง ดำเนินการบันทึกข้อความ และหนังสือราชการต่างๆที่เกี่ยวข้องของฝ่าย
  • รวบรวม เรียบเรียง และทำสำเนาเอกสารของฝ่ายเพื่อทำหลักฐานประกันคุณภาพ
  • จัดทำทะเบียนวัสดุ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์ต่างๆในความรับผิดชอบ
  • จัดทำเอกสารรายงานผลการปฏิบัติงานของฝ่าย
  • ประสานงานข้อมูลดำเนินการของฝ่าย และแจ้งให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทราบ(ในหลักสูตร)
  • สังเคราะห์นโยบายจากที่ประชุม ร่าง และนำเข้าที่ประชุมเพื่อพิจารณากำหนดเป็นแนวปฏิบัติ
งานแผนและนโยบาย

ศึกษาข้อมูลแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง  วิเคราะห์นโยบายมหาวิทยาลัย นโยบายคณะ ออกแบบนโยบาย วิเคราะห์และจัดทำแผนยุทธศาสตร์ แผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการ แผนบริหารความเสียง แผนบริหารจัดการหลักสูตรแผนพัฒนานักศึกษาและบุคลากร แผนอื่นๆให้สอดคล้องกับแผนของคณะและมหาวิทยาลัย


  • แผนยุทธศาสตร์และแผนกลยุทธ์
  • แผนปฏิบัติการ
  • แผนบริหารความเสี่ยง
  • แผนพัฒนาหลักสูตร 2 ปี - 5 ปี - 10 ปี
  • แผนปรับปรุงหลักสูตร 1 ปี - 3 ปี - 5 ปี
  • แผนพัฒนาอาจารย์ และบุคลากร
  • แผนพัฒนานักศึกษา
  • แผนการรับนักศึกษา
  • แผนการจัดทำคำขอตั้งงบประมาณประเภทต่างๆ
  • แผนพัฒนาห้องปฏิบัติการและห้องสอน
  • แผนพัฒนา-จัดหา ครุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนและการบริการวิชาการ

งานงบประมาณ


  • ฐานข้อมูลการจัดตั้งงบประมาณประเภทต่างๆประจำปี
  • ฐานข้อมูลการใช้งบประมาณประเภทต่างๆประจำปีงบประมาณ และรายไตรมาส
  • ฐานข้อมูลค่าวัสดุฝึกรายวิชา (งบที่ได้)
  • ฐานข้อมูลค่าใช้จ่ายประจำรายวิชา (เงินที่นักศึกษาและอาจารย์ต้องจ่าย)
  • ฐานข้อมูลค่าใช้จ่ายต่อหัวนักศึกษา ตลอด 4 ปีการศึกษา FTES
  • ข้อมูล fact เพื่อใช้เป็นฐานในการคำนวณต่างๆ ทำตาราง เพื่อให้ไขว้กับ co-curriculum ได้ด้วยกรณี extra curriculum อาจต้องคำนวณต่างหาก

งานKM ( เตรียมรับการประเมินจากองค์กรอิสระภายนอก)

  • จัดทำคู่มือปฏิบัติงานของฝ่ายงานนโยบาย แผนและงบประมาณ ให้ทุกคนได้มีโอกาสเรียนรู้งานนี้ร่วมกัน(ทั้งเอกสารและ on line เพื่อบันทึกปัญหาแนวทางแก้ปัญหา และเพื่อการพัฒนาระบบงาน )
  • ฝึกนักศึกษาปฏิบัติงานฝ่ายงานนโยบาย แผนและงบประมาณ

งานประกันคุณภาพ


  • รับผิดชอบหลักฐาน การให้ข้อมูลและการรายงานผล ตามตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง(ตามมติที่ประชุม)
หมายเหตุ
       งานบริหารมีผู้ปฏิบัติงานได้มากกว่าหนึ่งคน  หน้าที่งานสามารถปรับได้ และควรมีผู้ปฏิบัติงานสายสนับสนุนเพราะภาระงานจะหนักขึ้นมากตามกรอบบังคับต่างๆ

คู่มือระบบบริหารจัดการหลักสูตร (บทนำ)

คู่มือระบบบริหารจัดการหลักสูตร
สำหรับอาจารย์ประจำหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย


ระบบบริหารจัดการหลักสูตร เป็นภาระงานหลักที่สำคัญ ที่จะทำให้ให้หลักสูตรคงอยู่และขับเคลื่อนไปได้ โครงสร้างการปฏิบัติงานและหน้าที่รับผิดชอบงานบริหารจัดการหลักสูตร ใกล้เคียงกันกับงานฝ่ายสนับสนุนในระดับคณะและมหาวิทยาลัย ซึ่งมีบุคลากรรับผิดชอบงานที่ชัดเจน แต่หลักสูตรไม่มีบุคลากรสายสนับสนุน อาจารย์ประจำหลักสูตรทุกคนจึงจำเป็นต้องมีสมรรถนะในการบริหารจัดการหลักสูตรทั้งระบบด้วยตนเอง

คู่มือระบบบริหารจัดการหลักสูตร ได้ระบุกรอบภาระงาน ขอบข่ายหน้าที่งาน และหน้าที่งานในแต่ละฝ่ายงานไว้โดยละเอียด การกำหนดขอบข่ายหน้าที่งานอาจารย์ประจำหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ จัดระบบงานและหน้าที่รับผิดชอบ เพื่อให้อาจารย์ทุกคนมีภาระงานที่ชัดเจน และสามารถเชื่อมโยงงานกันได้อย่างราบรื่นเป็นระบบ โดยไม่เป็นภาระหนักแก่ผู้หนึ่งผู้ใดจนเกินไป อีกทั้งยังมีหลักฐานตรวจสอบได้ทั้งระบบเอกสารและระบบออนไลน์ ช่วยให้งานของหลักสูตรมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

การกำหนดภาระงานและความรับผิดชอบสำหรับนักศึกษาสังกัดหลักสูตร ในฐานะผู้ช่วยกรรมการ เป็นการฝึกนักศึกษาให้เรียนรู้การทำงานเป็นทีมตามทักษะเฉพาะฝ่ายงาน และมีจิตอาสาในการปฏิบัติงานร่วมถึงการร่วมงานกับเพื่อน พี่ น้องและอาจารย์ประจำหลักสูตร  ก่อให้เกิดความรักความผูกพัน และเกิดแนวคิดการการพัฒนาระบบการบริหารจัดการงานแบบมีส่วนร่วมของหลักสูตร นำไปสู่การสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพ และก่อให้เกิดประสิทธิผลต่อหลักสูตรโดยภาพรวม
 
ภาระงานและหน้าที่รับผิดชอบของอาจารย์ประจำหลักสูตร


อาจารย์ประจำหลักสูตร มีภาระงานรับผิดชอบงานหลักสูตรดังต่อไปนี้

1. ภาระงานบริหารจัดการหลักสูตร อาจารย์สังกัดหลักสูตร มีภาระงานบริหารจัดการหลักสูตรตามฝ่ายงานที่รับผิดชอบ 5 ฝ่ายงาน ตามโครงสร้างการบริหาร ตามแนวปฏิบัติของหลักสูตร และดำเนินการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 และการประกันคุณภาพการศึกษา

สำหรับงานประกันคุณภาพ ถือเป็นหน้าที่ร่วมกันของอาจารย์สังกัดหลักสูตรทุกคน***

2. ภาระงานสอน ตามรายวิชาสังกัดหลักสูตร

3. ภาระงานนิเทศการสอน นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สังกัดหลักสูตร

4. ภาระงานที่ปรึกษา ตามศักยภาพของอาจารย์สังกัดหลักสูตร ได้แก่

(ก) ที่ปรึกษาประจำกลุ่มเรียน
(ข) ที่ปรึกษาชมรม
(ค) ที่ปรึกษาโครงการต่างๆ

5. ภาระงานวิจัยและงานบริการวิชาการ ตามเกณฑ์มาตรฐานภาระงานอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หรือตามตำแหน่งทางวิชาการ

6. ภาระงานอื่นๆ ที่คณะและมหาวิทยาลัยมอบหมาย ตามเอกสารมาตรฐานภาระงานของสถาบันอุดมศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช  ได้แก่ งานตามฝ่ายงานที่คณะและมหาวิทยาลัยมอบหมาย งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง


ฝ่ายงานบริหารจัดการหลักสูตรและผู้รับผิดชอบ
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย
: เฉพาะผู้วางระบบงาน (ข้อมูลเมื่อ ปีการศึกษา ๒๕๕๓)


1. งานบริหาร(รวมงานแผนและงบประมาณ)
ฝ่ายบริหาร  ประธานหลักสูตร  เลขานุการหลักสูตร
ฝ่ายแผนและงบประมาณ

2. งานวิชาการ
ฝ่ายวิชาการ

3. งานพัฒนานักศึกษา
ฝ่ายพัฒนานักศึกษา

4. งานฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
ฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

5. งานประกันคุณภาพ
ฝ่ายประกันคุณภาพ
ฝ่ายฐานข้อมูลและสารสนเทศ

คำอธิบายการจัดทำคู่มือระบบบริหารจัดการหลักสูตร

  1. การแบ่งฝ่ายงานเป็น ๕ ฝ่ายตามโครงสร้างการบริหารงานคณะ เพื่อให้สะดวกในการจัดโครงสร้างหน้าที่ การปฏิบัติงาน การประสานกำกับดูแลติดตามงาน และเพื่อให้สอดคล้องกับการรายงานผลการปฏิบัติงานตามกรอบการประกันคุณภาพและกรอบการประเมินต่างๆ 
  2. หน้าที่งาน ในคู่มือระบบบริหารจัดการหลักสูตร สำหรับอาจารย์ประจำหลักสูตรนี้ ได้เขียนไว้ในรายละเอียด  แต่หลักสูตรสามารถปรับหน้าที่งานได้ตามความเหมาะสม ขึ้นอยู่กับปริบทของหลักสูตร
  3. หลักสูตรกำลังดำเนินการจัดทำใบกำกับหน้าที่งาน (Job Descriptions) เพื่อระบุหน้าที่หลัก สมรรถนะหลัก เพื่อให้สะดวกแก่การรายงานผลและการประเมินผลการปฏิบัติงาน เพื่อนำไปสู่การพัฒนางานตามฝ่ายงานที่รับผิดชอบต่อไป
  4. เอกสารชุดนี้เขียนขึ้นในปริบทของหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย โดยมีข้อต้องปรับปรุง และมีปริบทที่ไม่ได้กล่าวถึงอีกหลายประการ เนื่องจากปัจจุบันสภาพแวดล้อมขององค์กรมีความเปลี่ยนแปลงสูง จึงต้องปรับเนื้อหาให้สอดคล้องกับงานของแต่ละหลักสูตรเป็นการเฉพาะ
  5. เอกสารชุดนี้เขียนเฉพาะภาระงานอาจารย์ประจำหลักสูตร ยังไม่ได้กล่าวถึงคุณสมบัติประจำตำแหน่ง และวาระการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงการพิจารณาจ้างบุคลากรสายสนับสนุนตามภาระงานและจำนวนนักศึกษา ที่จำเป็นต้องรับเพิ่มตามนโยบายของมหาวิทยาลัย

ระบบบริหารจัดการหลักสูตร เป็นหน้าที่งานที่อาจารย์ประจำหลักสูตรทุกท่าน ได้ดำเนินการอยู่แล้วเป็นปกติ อย่างไรก็ตาม การระบุชื่อ งานบริหารจัดการหลักสูตร ในโครงสร้างระดับคณะ และในคู่มือปฏิบัติงานของอาจารย์ระดับมหาวิทยาลัยนั้น ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจและการลงมือปฏิบัติงานในหลักสูตรจริงๆ จึงจะ"มองเห็น"งานบริหารจัดการหลักสูตร"อย่างชัดเจนเป็นระบบ หากไม่เห็นความสำคัญของงาน คำว่า งานบริหารจัดการหลักสูตร ก็อาจไม่ปรากฏอยู่ในคู่มือการปฏิบัติงานของอาจารย์

และสำหรับการกำหนดหน้าที่งานบริหารจัดการหลักสูตร  อันเป็นระบบขับเคลื่อนเพื่อให้หลักสูตรดำรงอยู่ได้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พศ. 2552 ขณะนี้เท่าที่สืบค้นออนไลน์ ผู้เขียนยังไม่เห็นลิงก์ หรือ URL ที่นำไปสู่ข้อมูล"ระบบงานบริหารหลักสูตร"ดังเนื้อความที่เขียนไว้ในแต่ละระบบงานในบล็อกนี้ จึงอาจเป็นข้อมูลบ่งชี้เบื้องต้นว่า"ภาระงาน"ที่เขียนขึ้นทั้งหมด สำหรับมหาวิทยาลัยที่สามารถบริหารจัดการให้มีบุคลากรสายสนันสนุน แบ่งเบาภาระงานหลักสูตรได้ อาจารย์ก็อาจไม่ต้องแบกรับภาระงานสายสนับสนุน และไม่ต้องทำงานธุรการตามที่เขียนบรรยายไว้ในแต่ละระบบงานของเอกสาร"คู่มือระบบบริหารจัดการหลักสูตร"นี้ 
ขอขอบพระคุณ ทีมงานกรรมการหลักสูตรนิเทศศาสตร์ทุกคนและชาวคณะวิทยาการจัดการ ในความเป็นกัลยาณมิตร เมื่อครั้งได้ปฏิบัติงานบริหารจัดการหลักสูตรนิเทศศาสตร์ร่วมกัน และขอขอบคุณ  ผศ.ดร.สุภาวดี พรหมมา ผศ.ลดาวัลย์ แก้วสีนวล เป็นอย่างสูงในความเป็นมิตร และการเป็นแรงบันดาลใจสำคัญที่ทำให้เกิดคู่มือบริหารจัดการหลักสูตรฉบับร่างรายละเอียดหน้าที่งาน  ที่เขียนงานตามที่เราร่วมกันลงมือทำจริงๆเล่มนี้ เพื่อให้เป็นข้อมูลสำหรับผู้บริหารในการทำความเข้าใจและวิเคราะห์ภาระงานที่เหมาะสมกับบุคลากรสายผู้สอน ในการทำงานวิชาการและพัฒนาคุณภาพบัณฑิต ได้เต็มศักยภาพต่อไป

หากท่านผู้อ่านจะกรุณาให้ข้อคิด คำแนะนำเพื่อการปรับปรุงประการใด ผู้เขียนขอน้อมรับไว้ด้วยความยินดียิ่ง และจะนำไปปรับปรุงให้คู่มือเล่มนี้ให้สอดคล้องตามสภาพจริงยิ่งขึ้นในโอกาสต่อไป ขอขอบพระคุณอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้



สุขุมาล จันทวี

ผู้เขียน







ระบบงานบริหาร : ฝ่ายบริหาร (ต่อ)
http://thai-ed.blogspot.com/2010/06/1.html